เรื่องและภาพโดย ศรัณย์ บุญประเสริฐ : พูดถึงกาแฟ แท้จริงใช่หรือไม่ว่า มันคือ “จริต” แห่งรสสัมผัส ทั้งรสชาติจากผงกาแฟแต่ละสายพันธุ์ ทั้งอวลกลิ่นละมุนยามผ่านด้วยน้ำร้อนเจียนเดือด กระทั่งวิธีการ- ชง อันทำให้ได้มาซึ่งเครื่องดื่มวิเศษนี้ ทว่าจริตของแต่ละคน แต่ละชนชาติที่พิสมัยกาแฟ ก็ผิดแผกแตกต่างกันไป
…กระทั่งบางเสียงกล่าวยกย่อง วิธีการ- ชงกาแฟ ว่า ละเอียดลออไม่แตกต่างจากการชงชาของญี่ปุ่น
…กระทั่งบางคอกาแฟ ที่ชมชอบการชงแบบดริป จะต้องทอดเวลาระยะหนึ่งภายหลังรินน้ำร้อนลงไปแล้ว นัยว่าเพื่อให้ผงกาแฟได้หายใจ ราวกับวิธีการดื่มไวน์นั่นเทียว
อินโดนีเซีย น่าจะเป็นประเทศแรกในแถบนี้ที่มีการทำไร่กาแฟ เมื่อต้องตกเป็นอาณานิคมของปอร์ตุเกสและเนเธอร์แลนด์ หลังจากนั้นจึงเป็นเวียดนาม และในอุษาคเนย์ของเรานี้ ชาติที่ดูจะมีวัฒนธรรมกาแฟเข้มแข็งน้อยที่สุด ก็น่าจะเป็นพม่าหรือเมียนมาร์ เพื่อนบ้านทางตะวันตกของไทยนั่นเอง เพราะการอยู่กับอังกฤษมาร่วม 100 ปี และอังกฤษเป็นชาติที่ไม่นิยมกาแฟสักเท่าไหร่ ตรงกันข้ามกับชา พม่าก็เช่นเดียวกัน
…..มาเมืองพม่าจึงไม่ต้องถามหากาแฟ เพราะส่วนใหญ่ที่จะได้คือ กาแฟประเภท สำเร็จรูป
ตรงข้ามกับเวียดนาม ประเทศที่ผมเชื่อว่า มีวัฒนธรรมกาแฟมายาวนานพอ ๆ กับช่วงเวลาที่ต้องตกอยู่ใต้การปกครองของฝรั่งเศส ธุรกิจกาแฟในเวียดนาม นับวันยิ่งเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ กาแฟเป็นผลิตผลการเกษตรสำคัญของเวียดนามไม่แพ้ข้าว คนเวียดนามกินกาแฟกันทุกหัวระแหง ร้านกาแฟหาได้ง่ายพอ ๆ กับร้านเฝอ ตั้งแต่ร้านหาบเร่ ร้านตึกแถวข้างถนน กระทั้งร้านหรูสไตล์ฝรั่งเศส

รวมทั้งร้านแฟรนไชส์อย่าง Highland Coffee และเจ้าใหญ่อย่างแบรนด์ “จุงเหวียน” (Trung Nguyen) ที่ได้ฉายาว่าเป็น “สตาร์บั๊คแห่งอินโดจีน”
ขณะที่จุงเหวียนยึดพื้นที่การตลาดในเวียดนามได้อย่างเข้มแข็ง แต่ Highland Coffee กลับขยายแฟรนไชส์ ไปยังต่างประเทศ ปัจจุบันแบรนด์จากเวียดนามเจ้านี้ ไปเปิดร้านสาขาในประเทศฟิลิปปินส์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
กาแฟเวียดนามมักมีกลิ่นหอมละมุนของพืชบางตัวบางชนิด บางคนจึงคิดว่าเป็นคุณภาพที่ดีของพันธุ์กาแฟเวียดนาม แต่จริงๆ แล้วเป็นการ “เบลนด์” หรือแต่งกลิ่นเข้าไปภายหลัง ที่นิยมกันก็มักจะเป็นกลิ่นคาราเมล วานิลลา หรือ ฮาเซลนัท ส่วนวิธีการ – ชง ก็เป็นข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัด คนที่เคยไปเวียดนามคงเคยสั่งกาแฟสด หรือ ก่าเพเด็น(cà phê đen) เขาจะเสิร์ฟมาเป็นถ้วย โดยมีถ้วยกรองกาแฟวางอยู่เหนือถ้วยกาแฟ ให้น้ำร้อนซึมผ่านผงกาแฟที่ละหยดๆ รสชาติเข้มปี๋ชนิดต้องขอน้ำร้อนเติมต่างหาก ถ้วยกรองกาแฟแบบนี้ชาวเวียดเรียกว่า ก่าเพฟิน(cà phê phin)เป็นอุปกรณ์ที่ขาดเสียมิได้สำหรับร้านกาแฟในเวียดนาม จริงๆ เจ้าฟินก็คือที่เรียกว่า เฟรนช์ดริปฟิลเตอร์ (French drip filter) นั่นเอง
ครับ…วิธีชงกาแฟที่ชาวเวียดนิยมกันก็คือการ ดริป อย่างที่กำลังเป็นที่นิยมกันในบ้านเรานั่นเอง
อินโดนีเซีย เป็นอีกประเทศในอุษาคเนย์ที่ขึ้นชื่อเรื่องกาแฟ โดยเฉพาะกาแฟ-ขี้อีเห็น (แต่เรามักรู้จักในชื่อกาแฟขี้ชะมด) หรือ โกปี้ลูวัก ซึ่งถือว่าดินแดนหมู่เกาะแห่งนี้ เป็นจุดกำเนิดของกาแฟมูลสัตว์ที่มีราคาต่อกรัม ถือเป็นกาแฟแพงที่สุดในโลก

ความที่เป็นหมู่เกาะมากมายกว่าพันเกาะ และมีเกาะใหญ่ๆ ไม่น้อยกว่า 7 เกาะ ทำให้กาแฟจากดินแดนอิเหนา โดดเด่นเรื่องรสชาติที่หลากหลายเฉพาะตัว ตามแหล่งผลิตจากเกาะต่างๆ ทั้งสุมาตรา ชวา บาหลี สุลาเวสี แม้แต่ติมอร์
หากแต่เพื่อนบ้านอาเซียนที่เป็นหมู่เกาะเช่นเดียวกับอินโดนีเซียอย่าง ฟิลิปปินส์ อาจเหมือนไม่ค่อยลื่อชื่อเรื่องกาแฟนัก แต่นั้นอาจเป็นเพราะคนไทยเรารู้จักฟิลิปปินส์น้อยกว่าประเทศอื่นๆ ในอาเซียน
จังหวัดคาวิเต้ (Cavite) บนเกาะลูซอน ใต้เมืองหลวงมะนิลามาไม่ไกล ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงของกาแฟแห่งฟิลิปปินส์
กาแฟอมาดิโอ (Amadeo) ซึ่งผลิตได้ที่จังหวัดนี้ ถือเป็นกาแฟดีและแพงที่สุดของฟิลิปปินส์ และที่น่ารู้ขึ้นไปอีก สำหรับใครก็ตามที่มีโอกาสไปประเทศนี้ กาแฟขี้อีเห็นของฟิลิปปินส์ ถือว่าเป็นของดีไม่แพ้ของอินโดนีเซีย และมีไม่น้อยที่ยังเป็นขี้อีเห็นตามธรรมชาติ แต่อย่าไปถามหาโกปี้ลูวักเข้าเชียวล่ะ นั่นเป็นภาษาชวาครับ ที่ฟิลิปปินส์ต้องถามถึง “กาปี อลามิด” (Kape Alamid) รับรอง ได้ขี้อีเห็นของแท้แน่นอนมาลิ้มรสแน่ๆ
ASEAN Café (2)
Coffee is all about preference. The different tastes of different coffee blend that gives great aroma after being brewed. Different brewing technique also produces different taste of coffee. How you like it is definitely different from others.
Some people say that brewing coffee is as divine as Japanese tea ceremony.
Some coffee lovers who love dripping technique have to wait for a while after pouring hot water into the coffee powder to let the coffee power “breath”, the same way we prepare wine.
Coffee might have arrived in ASEAN no less than 200 years. It is believed that coffee arrived in this corner of the world with Arab traders and later become the drink of the elite.
Indonesia might be the first country to have coffee farm after it became a colony of Portugal and the Netherland. Following Indonesia is Vietnam. In this region, however, the country with the weakest coffee culture might be Myanmar which has been a British colony and tea culture for almost a century.
Being in Myanmar, don’t ask for coffee because all you get is instant coffee!
In Vietnam, however, their coffee culture has been deep-rooted since the French colonial period. Vietnam’s coffee industry has constantly grown as coffee has become the agricultural product that is equally important to rice. Wherever you go, you will find good coffee. A coffee shop is as easily to find as a noodle shop. From a food stall to a shophouse café to a luxury restaurant, coffee is everywhere. There are big franchises like Highland Coffee and Trung Nguyen dubbed the Starbucks of Indochina.
While Trung Nguyen brand has a very strong market dominance in Vietnam, Highland Coffee is expanding quickly in other countries. It has already settled down in the Philippines.
Vietnam coffee has a unique aroma that many people think that it is a unique aroma of Vietnamese coffee. In fact, the aroma is “blended” later. The most popular aroma includes caramel, vanilla and hazel nut.
Brewing technique is unique. Those who ever visited Vietnam might have had ordered freshly brewed coffee or cà phê đen that is served in a cup and a coffee strain on top to let coffee powder soak into hot water. The coffee is very strong that you may need to ask for more hot water. This kind of coffee cup is called cà phê phin is indispensible in all coffee shop in Vietnam. This cà phê phin is in fact the French drip filter.
Well, dripping is the most popular coffee making technique in Vietnam and is becoming more popular in Thailand.
Indonesia is also famous for coffee, especially the “Kopi Luwak” (or Asian Palm civet coffee). This country is where the Kopi Luwak, the world’s most expensive coffee, is originated.
Comprising more than a thousand islands, with over 7 big islands, Indonesia has a large variety of coffee depending on where they are originated – Sumatra,Java, Bali, Sulawesi or Timor.
However, the Philippines, although comprises many islands, are not as famous as Indonesia. And, that’s perhaps we know less about the Philippines than other ASEAN countries.
Cavite on Luzon, south of Manila, is the capital city of Philippines coffee. Amadeo, the best and most expensive coffee in the Philippines is grown and produced here. The coffee from Asian Palm civet in the Philippines is also as good as that in Indonesia. Don’t ask for “Kopi Luwak” as is a Java term. It is called Kape Alamid in the Philippines.
อนพิพิธภัณฑ์ที่ยังมีชีวิตให้เรามาเยี่ยมชมได้ทุกวันค่ะ